ReadyPlanet.com


โรคตาแดง

          โรคตาแดง ที่มักระบาดในฤดูฝน ว่าแต่โรคตาแดงเกิดจากอะไร อาการโรคตาแดง วิธีป้องกันโรคตาแดง วิธีการรักษาโรคตาแดง ทำอย่างไร มาดูกัน

          หน้าฝนมาเยือนทีไร ก็มักจะนำหลาย ๆ โรคมาสู่คนเรา และหนึ่งในโรคสำคัญที่มักระบาดในฤดูฝน หรือในช่วงที่มีน้ำท่วม ก็คือ โรคตาแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในน้ำสกปรกกระเด็นเข้าตา และติดต่อแพร่ระบาดผ่านกันได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก ๆ ที่มีนิสัยชอบเล่นน้ำ อาจจะลงไปเล่นน้ำที่ท่วมขัง ซึ่งทุกปีกระทรวงสาธารณสุขจะออกมาประกาศเตือนให้เด็ก ๆ ระวังโรคตาแดง 

          วันนี้กระปุกดอทคอมจึงนำข้อมูลของ โรคตาแดง มาฝากกัน เพื่อให้สามารถป้องกันและเตรียมรับมือกับโรคตาแดงได้ค่ะ

โรคตาแดง เกิดจากอะไร

โรคตาแดง (Conjunctivitis) เป็นโรคทางตาที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

โรคตาแดง จากเชื้อไวรัส (Viral Conjunctivitis)

เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากการติดเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มอาดิโนไวรัส (Adenovirus) ที่แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้มากกว่า 50 กลุ่ม และประมาณ 1 ใน 3 สามารถทำให้เกิดโรคตาแดงได้ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักพบในช่วงฤดูฝน หรือน้ำท่วม และมักเกิดกับเด็กเล็ก ๆ ทั้งนี้การติดเชื้อไวรัสตาแดงมีทั้งหมด 3 ชนิด คือ

1.ชนิดคออักเสบร่วมด้วย

 2.ชนิดตาอักเสบไม่มาก

 3.ชนิดตาอักเสบรุนแรง ซึ่งชนิดสุดท้ายเป็นชนิดที่มีความรุนแรงมากกว่าทุกชนิด

 โรคตาแดง จากเชื้อแบคทีเรีย

เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการติดเชื้อ S.epidermidis, S.aureus ซึ่งก็ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาเช่นเดียวกับเชื้อไวรัส

โรคตาแดงจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis)

เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการแพ้ เช่น แพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่น ยา ควันบุหรี่ เป็นต้น มักจะเป็น ๆ หาย ๆ และเป็นร่วมกับโรคภูมิแพ้ของอวัยวะอื่น เช่น น้ำมูกไหล หืด หรือผื่นแพ้ที่ผิวหนัง เมื่อเป็นติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้เป็นต้อลมและต้อเนื้อได้ อาการสำคัญคือ จะรู้สึกคันหัวตามาก ๆ มักมีตาแดงเรื่อ ๆ ทั้งสองข้าง รู้สึกระคายเคืองตา ตาบวม ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้แพ้

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ โรคตาแดง

โรคตาแดง สามารถติดต่อได้ง่าย ๆ โดย

1.การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการติดต่อ โรคตาแดง จากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง

2.ใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย

3.ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา

4.แมงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา

5.ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า

ทั้งนี้ โรคตาแดง จะไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน และอาการต่าง ๆ จะเกิดได้ภายใน 1-2 วัน และระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน

อาการของโรคตาแดง

ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อ ๆ เพราะมีเลือดออกที่เยื่อบุตาขาว น้ำตาไหลเจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย โดยอาจเป็นเมือกใสหรือสีเหลืองอ่อน จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บและบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ภายใน 1-2 วัน ถ้าไม่ระวังให้ดี ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตามข้างทาง ที่ติดเชื้อไวรัสมาถูกตาข้างที่ดีจะไม่เป็นตาแดง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นไปอีกข้างอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้บางรายอาจมีตาดำอักเสบ ทำให้เคืองตามาก และมีแผลที่ตาดำชั่วคราวได้

ส่วนผู้ที่มีอาการตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีอาการตาแดง เคืองตา เจ็บตา มีขี้ตามากลักษณะข้น ๆ แบบหนอง เวลาตื่นนอนตอนเช้ามักมีขี้ตามากจนทำให้เปลือกตาติดกัน แต่อาการจะไม่เฉียบพลันและรวดเร็วเท่าโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส

โรคแทรกซ้อน โรคตาแดง

บางคนเมื่อเป็นตาแดงแล้วจะมีอาการเคืองตามาก ลืมตาไม่ค่อยได้ มักมีอาการกระจกตาอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะดีขึ้นได้ประมาณ 3 สัปดาห์ หรือบางรายเป็น 1-2 เดือน ทำให้ตามัวพร่าอยู่เป็นเวลานาน นอกจากนี้ ในบางคนอาจเป็นตาดำอักเสบ จะมีอาการตามัวลงทั้ง ๆ ที่อาการตาแดงดีขึ้นมากแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเป็นอยู่นานหลายเดือน

วิธีรักษาโรคตาแดง

ธีรักษาโรคตาแดงจะใช้การรักษาตามลักษณะอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ถ้ามีขี้ตามากก็หยอดยาปฎิชีวนะ มีไข้ เจ็บคอ ก็ใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด

          ผู้ป่วยโรคตาแดงต้องพยายามรักษาสุขภาพพักผ่อนมาก ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง ไม่ควรทำงานดึกควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้นมีกระจกตาอักเสบ เคืองตามาก จึงปิดตาเป็นครั้งคราว และควรสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสง

          ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน ทุกครั้งที่จับตาควรล้างมือให้สะอาด ผู้ป่วยไม่ควรลงเล่นน้ำในสระ จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในน้ำได้

          หากรักษาด้วยยาป้ายตา หรือยาหยอดตานานเกิน 7 วัน แล้วอาการยังไม่ทุเลา หรือมีอาการอื่นร่วม เช่น ปวดตามาก ตามัว ขี้ตาเป็นหนอง ลืมตาไม่ขึ้น มีไข้สูง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะหากทิ้งไว้นานถึงขั้นตาบอดได้

วิธีใช้ยาหยอดตา

ในการหยอดตาที่ถูกต้องนั้น สิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำก็คือ

           1. ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง

           2. ดึงหนังตาล่างลง

           3. ตาเหลือกมองเพดาน

        4. หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง

        5. ปิดตาและกรอกตาไปมา เพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา

       6. เช็ดยาที่ล้นออกมา

       7. ล้างมือหลังหยอดยาเสร็จ

          ทั้งนี้ สิ่งที่ควรระวังก็คือ ยาหยอดตาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงทั้งต่อดวงตาหรือต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้นควรใช้ต่อเมื่อจักษุแพทย์สั่ง และต้องอ่านฉลากกำกับให้ละเอียด หากมีข้อสงสัยหรือพบความผิดปกติใด ๆ ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

วิธีป้องกันโรคตาแดง

           1.หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ

           2.ไม่คลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย

           3.ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที

           4.อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา

           5.หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ให้สะอาดอยู่เสมอ

           6.ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน เพื่อป้องกันการกระจายของโรค

           7. หลีกเลี่ยงการใช้มือแคะ แกะ เกาหน้าตา

ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคตาแดง

           1.หากเป็นโรคตาแดงแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หรือหยุดงานรักษาตัวอยู่ที่บ้านอย่างน้อย 3 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้โรคตาแดงลุกลามหรือติดต่อสู่คนอื่น

           2.หากใช้กระดาษ หรือสำลีเช็ดขี้ตา เช็ดหน้าแล้ว ควรทิ้งในถังขยะที่มิดชิด

           3.ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าเช็ดขี้ตา เพราะผ้าเช็ดหน้าจะเก็บสะสมเชื้อไว้และติดต่อไปยังผู้อื่นได้

           4.ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อลดการระคายเคืองแสง

           5.ไม่ควรใช้ผ้าปิดตา เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น

           6.งดใส่คอนแทคเลนส์จนกว่าตาจะหายอักเสบ

           7.ควรพักผ่อนให้เต็มที่ และพักการใช้สายตา

           8.หมั่นรักษาความสะอาด และต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่จับบริเวณใบหน้าและตา เนื่องจากโรคตาแดงจะติดต่อโดยการสัมผัสมากที่สุด การล้างมือจะช่วยตัดการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างดี

 

 

 โรคเหา

             สาเหตุของการเกิด: 
          เชื้อโรคเหา- เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ขน ปาราสิตนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร และวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน (chitin) หุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บางคนไม่มีอาการเท่าใด แต่จะสร้างความรำคาญใจได้

             พฤติกรรมของเหา: 

          เป็นการติดต่อทางการสัมผัสโดยตรง (direct contact) เช่น การใช้หวี แปรง ร่วมกัน การใช้หมวก ร่วมกัน การใช้หมอน ที่นอนร่วมกัน จากศีรษะคนหนึ่งไปที่ศีรษะอีกคนหนึ่งเพราะฉะนั้นจึงมักพบระบาดในโรงเรียน ได้บ่อย เพราะเด็กนักเรียนจะวิ่งเล่นใกล้ชิดกันมาก

 

            วงจรชีวิตของเหา:

          ไข่เหา:  ตลอดชีวิตแม่เหาหรือโลน 1 ตัว วางไข่ได้ดังนี้
           - เหาหัว 50-150 ฟอง
           - เหาตัว 270-300 ฟอง
           - โลน ประมาณ 26 ฟอง
           - ฟักภายใน 7 - 10 วัน มีสีขาวขุ่น อยู่ติดกับโคนผมหรือขน

          ตัวกลางวัย-  ลอกคราบ 3 ครั้ง ใช้เวลาในการเจริญเติบโต 7 - 13 วัน

          ตัวเต็มวัย-  ผสมพันธุ์และวางไข่ภายใน 1 - 2 วัน มีอายุ 2 - 4 สัปดาห์

 

            อาการของการเกิดโรคเหา : 

          จะมีอาการคันที่บริเวณด้านหลังและด้านตรงศีรษะ ถ้าเกามากเป็นหนอง สะเก็ดแห้งกรัง ได้ บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณท้ายทอย และข้างคอโตได้ ในทางตรงกันข้าม บางคนอาจจะไม่มีอาการใดมาก ไม่คันมาก

 

           วิธีการรักษาเหา :

      -การโกนผม จะช่วยได้มาก และสะดวกดี ไม่สิ้นเปลือง แต่เด็ก จะอายเพื่อนฝูง

      -การใช้หวีเสนียด คือ หวีซึ่งมีซี่ของหวีถี่มากใช้สางผมทำให้ทั้ง ตัวเหาและไข่เหา หลุดติดกับหวีออกมาได้

      -การใช้ยาฆ่าเหา ชื่อทางการค้าว่า จาคูติน (Jacutin) ใช้ทา ศีรษะ ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ล้างออกใช้ทาติดต่อกัน 3 วัน

      -การใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเกิดมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเกิดขึ้น

      -ยากินกลุ่มแอนติฮีสตามีน ใช้กินเพื่อระงับอาการคัน

 

 

 

โรคตาแดง

        เกิด จากการอักเสบของเยื่อบุตา จากการติดเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มอาดิโนไวรัส ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วย ที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศ หรือทางรับประทานอาหารร่วมกัน อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน

การติดต่อ จะติดต่อกันง่ายมากโดย
1. การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง
2. ใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
3. ปล่อยให้ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา
4. ปล่อยให้แมลงวี่ หรือแมลงวันตอมตา
5. ไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้า

อาการ

 ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อ ๆ น้ำตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บ และบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ ถ้าไม่ระวังให้ดี ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตามข้างที่ติดเชื้อไว้รัส มาถูกตาข้างที่ดี จะไม่เป็นตาแดง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นไปอีกข้างอย่างรวดเร็ว มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน ระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 5-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น

การรักษา

รักษาตามลักษณะอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง ถ้ามีขี้ตามากก็หยอดยาปฏิชีวนะสาร มีไข้ เจ็บคอ ก็ใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด พยายามรักษาสุขภาพ พักผ่อนให้มาก ๆ โดยเฉพาะการใช้สายตาในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง ไม่ควรทำงานดึก ควรนอนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้นมีกระจกตาอักเสบ เคืองตามาก จึงปิดตาเป็นครั้งคราว ไม่ควรให้เชื้อไวรัสแพร่กระจาย ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน ทุกครั้งที่จับตาควรล้างมือให้สะอาด ผู้ป่วยไม่ควรลงเล่นน้ำในสระ จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในน้ำได้

การป้องกัน

1. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
2. ไม่คลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
3. ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที
4. อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา
5. หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ให้สะอาดอยู่เสมอ

 ผู้ป่วยโรคตาแดงควรหยุดเรียนหรือหยุดงานรักษาตัวอยู่ที่บ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้โรคตาแดงลุกลาม หรือติดต่อสู่คนอื่น

ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย 

 อาการของ ไข้เลือดออก 
          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ 
      1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน 
      2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ 
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว 
      3. ตับโต 
      4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ 

แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก
           โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้ 
           1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร 
          2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด 
          3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที 
          4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย 

การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก 
         
เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก
         
นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้ 

 การป้องกันโรค ไข้เลือดออก 
          ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง  

  การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management 
          การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์ 
          แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่ 
          ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
          ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ 
          หมั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง 
          ตรวจรอบ ๆ บ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
          ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง 
          ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน 
          หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ  

การป้องกันส่วนบุคคล 
         ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง 
         การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี 
          การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ 
          นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง 
          การควบคุมยุงโดยทางชีวะ 
          เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ 
          ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs) 
          การใช้เครื่องมือดักจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโปร์ แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง

การใช้สารเคมีในการควบคุม 
          ใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความชุกของยุงมากกว่าปกติ 
          การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

1. โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก หรือ Hand, Foot and Mouth Disease มักเรียกติดปากกันว่า โรคมือ เท้า ปาก เปื่อย สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสลำไส้ หรือเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus)โดยพบการระบาดของ โรคมือ เท้า ปาก เมื่อปี พ.ศ.2500 กับเด็กในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้และยังมีตุ่มน้ำใสในช่องปาก มือ และเท้า ต่อมายังพบการระบาดกับกลุ่มเด็กในเมืองเบอร์มิงแฮม เมื่อปี พ.ศ.2502 เช่นกัน จนได้มีการเรียกกลุ่มอาการที่พบนี้ว่า Hand-Foot-and Mouth Disease (HFMD) หลังจากนั้นก็มีรายงานการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
          
ทั้งนี้ โรคมือ เท้า ปาก จะมีการระบาดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ หากเป็นประเทศเขตหนาวจะพบในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศเขตร้อนชื้นจะพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะระบาดมากในช่วงฤดูฝนที่มีอากาศร้อนชื้น และมักพบในกลุ่มเด็กทารก และเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี 

      อาการของ โรคมือ เท้า ปาก
          
โดยทั่วไป โรคมือ เท้า ปาก มักจะมีอาการไม่รุนแรง โดยจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-6 วัน และมีอาการเริ่มต้นคือ เป็นไข้ต่ำ ๆ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเริ่มเจ็บปาก ไม่ยอมทานอาหาร เพราะมีตุ่มแดงที่เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม โดยตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส รอบแผลจะอักเสบแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น จากนั้นจะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ด้วย ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้ ทั้งนี้อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน  7-10 วัน โดยทิ้งรอยแผลเป็นให้เห็น
          
อย่างไรก็ตาม โรคมือ เท้า ปาก อาจแสดงอาการในหลายระบบ เช่น          

1.ระบบทางเดินหายใจ อาจมีอาการเหมือนไข้หวัด ไอ มีน้ำมูกใส เจ็บคอ
2.
ทางผิวหนัง

3.ทางระบบประสาท เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ
4.
ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำเล็กน้อย ปวดหัว อาเจียน
5.
ทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ (chemosis and conjuntivitis) และ
6.
ทางหัวใจ เช่น สามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ ซึ่งอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการ หรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง 
          
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเกิดผื่น ตุ่ม ที่มือ เท้า และปากนานเกิน วัน แล้วยังมีอาการซึมตามมาด้วย ให้รีบพบแพทย์ทันที เพราะอาการซึมเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เชื้อกำลังเข้าสู่สมองแล้ว และหากปล่อยไว้ไม่ยอมมารักษา เชื้อจะเข้าไปในสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของหัวใจ จนทำให้หัวใจล้มเหลว และเกิดน้ำท่วมปอดจนเสียชีวิตได้

     โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้ทางไหน
          
โรคมือ เท้า ปาก สามารถติดต่อกันได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง ทั้งจากจมูกลำคอ และน้ำจากในตุ่มใส (Respiratory route) โดยเชื้อโรคอาจติดมากับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือการไอจามรดกันก็ได้ทางอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route )โดยช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ และจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ ทั้งนี้ เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน โรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่สัตว์ หรือจากสัตว์สู่คนได้ 

     การรักษา โรคมือ เท้า ปาก
          ปกติแล้วโรคมือ เท้า ปาก สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เพราะเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงต้องใช้ภูมิคุ้มกันของตัวเองต่อสู้กับเชื้อโรค ทั้งนี้ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ทั้งนี้ ควรเช็ดตัวผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ ให้อาหารอ่อน ๆ ดื่มน้ำและผลไม้ และนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจต้องป้อนนมแทนการให้ดูดจากขวดนม
          หลังจากการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่อาจเกิดโรคมือ เท้า ปาก ซ้ำได้ จาก เอนเทอโรไวรัสตัวอื่น ๆ ดังนั้น หากผู้ปกครองสังเกตเห็นลูกมีอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อย ๆ หอบ แขนขาอ่อนแรง ไม่ยอมรับประทานอาหารและนํ้า ก็ควรพาบุตรหลานมาพบแพทย์ 

 การป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก
          
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือ เท้า ปาก แต่โดยปกติป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ได้ โดยการรักษาสุขอนามัยที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้งใช้ช้อนกลาง และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน
          
ที่สำคัญ คือ ต้องแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก โดยไม่ให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ๆ เป็นเวลา สัปดาห์ และต้องคอยทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้า ที่อาจปนเปื้อนเชื้อด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน
          
หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค  โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน

 

 2. โรคเบาหวาน

          หมายถึง ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย โดยปกติ อินซูลินมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานของร่างกาย สาเหตุที่แท้จริงของโรคเบาหวานนั้นยังไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ พันธุ์กรรมและแบบแผนในการดำเนินชีวิต ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้อาจเสี่ยงต่อการเกิด โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ตาบอด หรือมีการทำลายของเส้นประสาท

        อาการ
         
ปัสสาวะจะบ่อยมากขึ้น ถ้าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า 180 มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อย เนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ จึงรู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ จึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา ผู้ป่วยจะกินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักจะลด อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน เห็นภาพไม่ชัด ชา ไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขน ขา อาเจียน ฯลฯ

       สาเหตุ
         
ยังไม่ทราบแน่นอน แต่องค์ประกอบสำคัญที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคนี้ ได้แก่ กรรมพันธุ์ ความอ้วน และขาดการออกกำลังกาย หากบุคคลใดมีปัจจัยเสี่ยงมาก ย่อมมีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานได้สูง ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคเบาหวานได้สูง

       คำแนะนำ

  1. รับประทานอาหารให้ถูกต้องตามที่กำหนดให้ และรู้จักใช้อาหารที่สามารถทดแทนกันได้
  2. ใช้อินซูลิน หรือยาเม็ดให้ถูกต้องตามเวลา
  3. ระวังรักษาสุขภาพ อย่าให้ตรากตรำจนเกินไป
  4. รักษาร่างกายให้สะอาด และระวังอย่าให้เกิดบาดแผล
  5. หมั่นตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ
  6. ออกกำลังกายแต่พอควร และสม่ำเสมอ
  7. ถ้ามีอาการอ่อนเพลีย ใจหวิวสั่น เหงื่อออก หรือมีอาการปวดศีรษะ ตามัว ให้รับประทานน้ำหวาน หรือน้ำตาลทันที ทั้งนี้เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เพียงพอกับยา แต่ถ้าได้รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป และได้อินซูลิน หรือ ยาน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการง่วง ผิวหนังผ่าวร้อน คลื่นไส้ หายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้ ถ้าทิ้งไว้อาจทำให้ไม่รู้สึกตัว ต้องรีบพบแพทย์ทันที
  8. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรมีบัตรบ่งชี้ว่าเป็นเบาหวาน และกำลังรักษาด้วยยาชนิดใดติดตัวอยู่เสมอ และ ควรมีขนมติดตัวไว้ด้วย
  9. อย่าปล่อยให้อ้วน เพราะ 80% ของผู้ป่วยโรคนี้ เกิดจากการอ้วนมาก่อน
  10. อย่าวิตกกังวล หรือเครียดมากจนเกินไป
  11. เบาหวานเป็นกรรมพันธุ์ได้ หากสงสัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ควรได้รับการตรวจเลือดจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  12. ต้องระมัดระวัง เมื่ออายุ 40 ปี ควรตรวจเลือดดูเบาหวานทุกปี เพราะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย

 

3. โรคภูมิแพ้

          โรคภูมิแพ้ หรือ โรคแพ้ (Allergy) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติ สิ่งที่สามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้ (Allergy) ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป โรคภูมิแพ้เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย เด็กอายุ 5 - 15 ปี มักจะพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่น  เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับสิ่งกระตุ้นมานานเพียงพอ อย่างไรก็ตามบางคนอาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้ โรคภูมิแพ้นั้นไม่ใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมจากรุ่นคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย คุณพ่อ คุณแม่ มาสู่ลูกหลานได้ และอาจพบว่าในครอบครัวนั้นสามารถมีสมาชิกป่วยเป็นโคภูมิแพ้ได้หลายคน ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือสิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง ทางตา หู จมูก หรือ โดยการฉีด หรือ ถูกกัดต่อยผ่านทางผิวหนัง ตัวการที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มีอยู่รอบตัว สามารถกระตุ้นอวัยวะต่างๆ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น

  • ทางลมหายใจ ถ้าสิ่งกระตุ้นผ่านเข้ามาทางลมหายใจ ตั้งแต่รูจมูกลงไปยังปอด ก็จะทำให้เป็นหวัด คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันคอ เจ็บคอ ไอมีเสมหะ เสียงแหบแห้ง และลงไปยังหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบตัน เป็นหอบหืด
  • ทางผิวหนัง ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางผิวหนังจะทำให้เกิดผื่นคัน น้ำเหลืองจะเสีย
  • ทางอาหาร ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางอาหาร จะทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด เสียไข่ขาวในเลือด อาจทำให้เกิดอาการทางระบบอื่น ๆ ได้ เช่น ลมพิษ หน้าตาบวม
  • ทางตา ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางตา จะทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา หนังตาบวม น้ำตาไหล

        สารก่อภูแพ้

  • ฝุ่นบ้าน ตัวไรฝุ่นบ้าน มักปะปนอยู่ในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 มม. มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
  • เชื้อรา มักปะปนอยู่ในบรรยากาศตามห้องที่มีลักษณะอับชื้น
  • อาหารบางประเภท อาหารบางอย่างจะเป็นตัวการของโรคภูมิแพ้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกอาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา อาหารอีกจำพวกที่พบบ่อย คือ แมงดาทะเล ปลาหมึก อาจทำให้เกิดลมพิษ ผื่นคันได้บ่อย ๆ  เด็กบางคนอาจแพ้ไข่แมงดาทะเลอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้มีอาการบวมตามตัว หายใจไม่ออก เป็นต้น อาหารประเภทหมักดอง เช่น ผัดกาดดอง เต้าเจี้ยว น้ำปลา เป็นต้น เด็กบางคนอาจแพ้เห็ด ซึ่งจัดว่าเป็นราขนาดใหญ่ เด็กบางคนแพ้ไข่ขาว อาจทำให้เกิดผื่นคันบนใบหน้าได้ บางคนอาจแพ้ผลไม้จำพวกมีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นฉุนจัด เช่น ทุเรียน ลำใย สตอเบอรี กล้วยหอม และอื่น ๆ
  • ยาแก้อักเสบ ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย ๆ นั้น ได้แก่ยาปฏิชีวนะ พวกเพนนิซลิน เตตราไวคลิน นอกจากนั้นยังมีพวกซัลฟา ยาลดไข้แก้ปวด พวกแอสไพริน ไตรโพโรน ยาระงับปวดข้อ ปวดกระดูก อาจทำให้เกิดลมพิษ ผื่นคันตามผิวหน้า พวกเซรุ่ม หรือวัคซีนป้องกันโรคโดยเฉพาะ วัคซีนสกัดจากเลือดม้า เช่น เซรุ่มต้านพิษงู แพ้พิษสุนัขบ้า เป็นต้น
  • แมลงต่าง ๆ แมลงที่มักอาศัยอยู่ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ แมงมุม มด ยุง ปลวก และ แมลงที่อาศัยอยู่นอกบ้าน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ มด นานาชนิด เป็นต้น
  • เกสรดอกไม้ ดอกไม้ ดอกข้าว วัชพืช สิ่งเหล่านี้ มักปลิวอยู่ในอากาศ ตามกระแสลม ซึ่งสามารถพัดลอยไปได้ไกล ๆ หรืออาจเป็นลักษณะขุย ๆ ติดตามมุ้งลวด หน้าต่าง

        การตรวจหาสาเหตุของโรค

  1. การสอบประวัติและวิเคราะห์โรค
    แพทย์จะทำการสอบถามประวัติ และอาการของโรคพร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เช่น บ้าน รถยนต์ โรงเรียน สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก เพื่อเป็นแนวทางที่จะทราบว่าผู้ป่วยมีอาการ ณ สถานที่ใดได้บ้าง
  2. ทดสอบทางผิวหนัง
    แพทย์จะใช้วิธีทดสอบทางผิวหนัง (Skin Test) ซึ่งวิธีนี้จะนำเอาน้ำสกัดของสารก่อภูมิแพ้ทางอ้อม โดยนำน้ำสกัดของสารก่อภูมิแพ้มาหยอดลงบนผิวหนังบริเวณท้องแขน ซึ่งทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ น้ำสกัดนั้นทำมาจากสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย ๆ เช่น ฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น เชื้อราในบรรยากาศ แมลงต่าง ๆ ในบ้าน เช่น แมลงสาบ ยุง เกสรดอกไม้ และอื่น ๆ  เมื่อหยอดน้ำสกัดบนท้องแขน แล้วใช้ปลายเข็มที่สะอาดกดลงบนผิวหนังเพื่อให้น้ำยาซึมซับลงไป แล้วทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ตุ่มใดที่ผู้ป่วยแพ้ ก็จะเป็นรอยนูน คล้ายรอยยุงกัด แพทย์จะทำการวัดรอยนูนและรอยแดงของแต่ละตุ่มที่ปรากฎ ซึ่งทำให้ทราบได้ทันทีว่าเจ้าตัวเล็กแพ้สารใดบ้าง ตุ่มใดที่ไม่แพ้ก็จะไม่มีรอยนูนแดง สำหรับวิธีทดสอบทางผิวหนังทำได้ตั้งแต่เจ้าตัวเล็กอายุได้ไม่กี่เดือนไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่

หมายเหตุ ก่อนที่ผู้ป่วยจะทำการทดสอบ ต้องหยุดรับประทานยาแก้แพ้จำพวกยาต้านฮิสตามีนก่อนการทดสอบอย่างน้อย 48 ชั่วโมง มิฉะนั้นฤทธิ์ยาแก้แพ้จะไปบดบัง ทำให้
              
หาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ไม่พบ

       วิธีการรักษา
          โรคภูมิแพ้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย บางคนอาจมีอาการภูมิแพ้ในระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบ โรคภูมิแพ้นั้นเป็นโรคที่สามารถพิสูจน์หาสาเหตุของโรค และสามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยบางคนเริ่มจากอาการแพ้อากาศเรื้อรัง เยื่อจมูกอักเสบ เมื่อไม่ได้ใส่ใจรักษา ต่อมาอาจกลายเป็นโรคหอบหืด โรคผื่นคันตามผิวหนัง เช่น เป็นลมพิษ ปวดศีรษะเรื้อรัง โรคอ่อนเพลียต่าง ๆ เป็นต้น บางคนเชื่อว่าถ้าเด็กเป็นโรคหอบหืดตั้งแต่เล็ก ๆ  พอโตขึ้นอาจจะหายไปเองได้ ไม่จำเป็นต้องรักษาอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะโรคนี้อาจทำให้พวกเค้าต้องเจริญเติบโตได้ช้า การปรับตัวเข้ากับสังคมเพื่อน ๆ และสภาพแวดล้อมได้ไม่ดี เกิดปมด้อย เจ้าตัวเล็กอาจขาดความมั่นใจ ส่วนเด็กที่แพ้อากาศ ถ้าไม่รักษาต่อมาก็อาจกลายเป็นโรคหอบหืด ที่มีอาการของโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หากสงสัยว่า เจ้าตัวเล็กของคุณนั้นเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ คุณควรที่จะนำไปปรึกษาแพทย์ เพื่อหาว่าแพ้อะไรบ้าง การดูแลในเบื้องต้นก็ทำได้โดยการพยายามหลีกเลี่ยงสารที่แพ้ ซึ่งจะทำให้อาการของโรคนั้นลดลง หรือหมดไปได้ ปัจจุบันยารักษาโรคภูมิแพ้ที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยนั้นมีหลายประเภท ทั้งยารับประทาน ยาสูดเข้าหลอดลม ยาพ่นจมูก ยาหยอดตา และยาทาผิวหนัง

  • หาต้นเหตุและหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้
    วิธีรักษาโรคภูมิแพ้ทีดีที่สุด คือ การค้นหาสาเหตุของการแพ้นั้นให้พบ เช่น การสอบถามประวัติและอาการของโรค พร้อมทั้งวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว เช่น บ้าน รถยนต์ โรงเรียน สัตว์เลี้ยง งานอดิเรก ตรวจร่างกายและทดสอบทางผิวหนัง เมื่อทราบว่าแพ้สารใดแล้ว ควรหลีกเลี่ยงสารที่ให้เกิดภูมิแพ้ที่ถูกต้องและอาการของโรคภูมิแพ้ก็จะทุเลา ในทางปฏิบัตินั้นการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นทำได้ยาก เพราะชีวิตประจำวันนั้นต้องเผชิญกับสารก่อภูมิแพ้กระจายอยู่รอบ ๆ ตัว เช่น ฝุ่นบ้าน ไรฝุ่น เชื้อรา และอื่น ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การรักษาอาการของโรคอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นและได้มักจะได้ผลดี แพทย์อาจให้รับประทานยาแพ้แพ้ แก้หอบ แก้ไอร่วมด้วย เป็นต้น
  • ฉีดวัคซีนให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทาน
    มีวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้อีกประการหนึ่งที่เป็นการรักษาที่ได้ผลดีพอสมควร ได้แก่ การหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้ให้พบ แล้วนำสารก่อภูมิแพ้ที่ตรวจพบนี้มาผลิตวัคซีนให้ผู้ป่วย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานที่แพ้ (อิมมูโนบำบัด) คือ รักษาให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานสารที่แพ้ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การรักษาเพื่อลดภูมิไว คือ ให้ร่างกายลดความไวต่อสารที่ก่อให้เกิดโรค

 

4. โรคเกาต์

          เป็นโรคทางกรรมพันธ์ ที่มีอาการปวดข้อเรื้อรัง พบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9 - 10 เท่า ส่วนมากจะพบในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไป ส่วนในผู้หญิงจะพบน้อย ถ้าจะพบก็เป็นหญิงหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

      อาการ
         
มีอาการปวดข้อรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที ข้อจะบวม และเจ็บมากจนเดินไม่ได้ ผิวหนังบริเวณนั้นจะตึง ร้อน และ แดง จากนั้นจะลอกและคัน มักมีอาการปวดตอนกลางคืน และมักจะเป็นหลังตอนดื่มเหล้าและเบียร์ (ทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง) ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาในระยะแรก อาจกำเริบทุก 1 - 2 ปี โดยจะเป็นที่ข้อเดิม แต่ต่อมาจะเป็นที่ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทุก 4 - 6 เดือน แล้วเป็นทุก 2 - 3 เดือน จนในที่สุดเป็นทุกเดือน หรือเดือนละหลาย ๆ ครั้ง และระยะการปวดก็จะนานขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็น 7 - 14 วัน จนกระทั่งหลายสัปดาห์ หรือปวดตลอดเวลา ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2 - 3 ข้อ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า ข้วมือ นิ้วเท้า ฯลฯ จนกระทั่งเป็นเกือบทุกข้อ ในระยะหลัง เมื่อข้ออักเสบหลายข้อ ผู้ป่วยมักสังเกตุมีปุ่มก้อนขึ้นที่บริเวณที่เคยอักเสบบ่อย ๆ เช่น ข้อนิ้วเท้า ข้อศอก ข้อเข่า รวมทั้งที่หู เรียกว่า ตุ่มโทฟัส (tophus/tophi) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของสารยูริก ปุ่มก้อนนี้จะโตขึ้นเรื่อย ๆ  จนบางครั้งแตกออกมีสารขาว ๆ คล้ายชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกมา กลายเป็นแผลเรื้อรัง หายช้า ในที่สุดข้อต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ พิการใช้งานไม่ได้ในที่สุด

      สาเหตุ
          เกิดจาดความผิดปกติทางพันธุ์กรรม ทำให้มีกรดยูริกคั่งค้างอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึกอยู่ตามข้อ ผิวหนัง ไต และอวัยวะอื่น ๆ  ทำให้เกิดอาการปวดบวม แดง ร้อน และอาจมีสาเหตุจากร่างกายมีการสลายตัวของเซลล์มากเกินไป เช่น โรคทาลัสซีเมีย มะเร็งในเม็ดเลือดขาว การใช้ยารักษามะเร็ง หรือฉายรังสี เป็นต้น อาจเกิดจากไตขับกรดยูริกได้น้อยลง เช่น ภาวะไตวาย ตะกั่วเป็นพิษ ผลจากการใช้ยาไทอาไซด์ เป็นต้น

      คำแนะนำ

  1. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ จะช่วยป้องกันการสะสมของผลึกกรดยูริก ซึ่งอาจทำให้ให้เกิดนิ่วในไต
  2. ควรกินผัก ผลไม้มากขึ้น เช่น ส้ม กล้วย องุ่น ซึ่งจะช่วยให้ปัสสาวะมีภาวะเป็นด่าง และกรดยูริกถูกขับออกมามากขึ้น
  3. ควรทานผักใบเขียวที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อทดแทนธาตุเหล็กที่ขาดเนื่องจากการงดทานเนื้อสัตว์
  4. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  5. งดอาหารที่มีสารพิวรินสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ น้ำซุปเนื้อสัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลาซาร์ดีน กะปิ ซึ่งจะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้น
  6. ควรจำกัดอาหารที่มีไขมันสูง เพราะอาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ ควรงดเครื่องดื่มพวกโกโก้ ชอกโกแลต ควรทานนมพร่องมันเนย
  7. ยาบางชนิดอาจมีผลต่อการรักษาโรคนี้ เช่น แอสไพริน หรือยาขับปัสสาวะ ไทอาไซด์ อาททำไห้ร่างกายขับกรดยูริกได้น้อยลง ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยากินเอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

 

5. โรคไมเกรน

          เป็นโรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรง และรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัว หรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย พบมากในช่วงอายุ 10 - 30 ปี โดยเฉพาะผู้หญิงมักเป็นมากกว่าผู้ชาย

       อาการ

  1. ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอยแต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกันหรือสลับข้างกันได้
  2. ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากมักจะปวดตุ๊บ ๆ นาน ๆ ครั้งหนึ่งเกิน 20 นาที ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อ ๆ สลับกับปวดตุ๊บ ๆ ในสมองก็ได้
  3. อาการปวดศีรษะมักเป็นรุนแรง และส่วนมากจะคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10 - 20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้น ๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวก่อนปวด

       สาเหตุ

     
 1. สาเหตุที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น พันธุ์กรรม ความเครียด สาเหตุเหล่านี้ไม่สามารถจะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้
      2.
สาเหตุที่อยู่ภายนอกร่างกาย ซึ่งสามารถจะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคขึ้น ได้แก่
          2.1
การนอนไม่พอ การอดนอน
          2.2
การตรากตรำทำงานมากเกินไป ทำให้ต้องอดอาหารบางมื้อ
          2.3
รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้น้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ อาการปวดศีรษะไมเกรนจะเป็นได้ง่ายขึ้น
          2.4
การตื่นเต้นมาก ๆ โดยเฉพาะในเด็กที่ไปงานเลี้ยง
          2.5
การเล่นกีฬาที่หักโหมจนเหนื่อยอ่อน แต่ถ้าเล่นกีฬาเบา ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัย
          2.6
การมองแสงที่มีความสว่างจ้ามาก ๆ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ที่รุนแรง แสงที่กระพริบมาก ๆ เช่น ไฟนีออน หรือ แสงระยิบระยับในดิสโก้เทค
          2.7
เสียงดัง
          2.8
กลิ่นน้ำหอมบางชนิด กลิ่นซิการ์ กลิ่นสารเคมีบางอย่าง กลิ่นท่อไอเสียรถยนต์
          2.9
อาหารบางชนิด

      คำแนะนำ

         
ในระหว่างที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน ควรจะนอนพักผ่อนในห้องที่เงียบ รับประทานยาแก้ปวดธรรมดา ถ้ามียานอนหลับก็รับประทานให้หลับ หรือกดเส้นเลือดที่กำลังเต้นอยู่ที่ศีรษะ ก็จะช่วยลดอาการปวดได้ หรืออาจจะใช้น้ำแข็งประคบ


 

6. โรคไต

          หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า 'พยาธิสภาพ' เกิดที่บริเวณไต ที่พบมาก ได้แก่ โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคตับอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง โรคไตอักเสบเนโฟรติก โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค S.L.E.) โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)
 

        อาการ

  • ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต (แต่ก็อาจไม่ใช่ก็ได้) โดยจะปัสสาวะออกมาเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ เป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือเป็นสีเหลืองเข็มก็ได้
  • ปัสสาวะจะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือ โปรตีนออกมามาก ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่ การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆ กัน เป็นข้อสัณนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
  • ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมีเม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่น การถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิกปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ
  • การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไตถุงน้ำอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
  • การปวกหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
  • อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมาอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบบ่อย โรตไตอักเสบชนิด เนฟโฟรติคซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
  • ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมาก ๆ ความดันโลหิตก็จะสูงได้
  • ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอิริโธรโปอิติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดู ทำให้ซีดหรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ  อย่างไรก็ตามควรต้องไปพบแพทย์ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็ซเรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนว่าเป็นโรคไตหรือไม่

        สาเหตุ

  • เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่น มีไตข้างเดียว หรือมีไตขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็นกรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
  • เกิดจาดการอักเสบ (Inflammation) เช่น โรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomenrulonephritis)
  • เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่น กรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อโรค) เป็นต้น
  • เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่น จากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
  • เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

        คำแนะนำ

  1. กินอาหารโปรตีนต่ำหรืออาหารโปรตีนต่ำมากร่วมกับกรดอะมีโนจำเป็น โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งหมายถึงโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิดจำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1 กก. / วัน โดยไม่ต้องให้กรดอะมีโนจำเป็นหรือกรดคิโต (Keto Acid) เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้นจะให้กรดอมิโนจำเป็นในปริมาณทีพอเพียงกับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ยประมาณ 50 - 60 กก. ควรกินอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30 - 60 กรัม / วัน อาจจำกัดอาหารโปรตีนเพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ของไตได้อีกวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม / น้ำหนัตัว 1 กก. /วัน) ร่วมกับกรดอมีโนจำเป็น หรืออนุพันธ์คีโต (Keto Anolog) ของกรดอมีโนจำเป็น ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ย 50 - 60 กก. ควรกิรโปรตีนประมาณ 20 - 25 กรัม / วัน เสริมด้วยกรดอมีโนจำเป็น หรืออนุพันธ์คิโตของกรดอมีโนจำเป็น 10 - 12 กรัม / วัน
  2. กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มก. / วัน ด้วยการจำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น
  3. งดกินอาหารที่มีฟอสเฟสสูง ฟอสเฟสมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอนต์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟสสูง จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรังให้รุนแรงมากขึ้น และมีความรุนแรงของการมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น นอกเหนือจากผลเสียต่อระบบกระดูกดังกล่าวข้างต้น
  4. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม การกินเกลือในปริมาณไม่มากนัก โดยไม่ต้องถึงกับงดโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) / วัน ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสจืด งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รวมถึงหมูแฮม หมูเบคอน ไส้กรอก ปลาริวกิว หมูสวรรค์ หมูหยอง หมูแผ่น ปลาส้ม ปลาเจ่า เต้าเจี้ยว งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระกระป๋อง เนื้อกระป๋อง
  5. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกินน้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight Height) ในคนปกติ ควรจำกัดปริมาณแคลอรีให้เพียงพอในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30 - 35 กิโลแคลอรี /น้ำหนักตัว 1 กก./วัน

 

7. โรคสมองเสื่อม (DEMENTIA)

          โรคสมองเสื่อม (DEMENTIA) เป็นคำที่เรียกใช้กลุ่มอาการต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานของสมองที่เสื่อมลง อาการที่พบได้บ่อย คือ ในด้านที่เกี่ยวกับความจำ การใช้ความคิด และการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ  นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิดภาพร่วมด้วยได้ เช่น หงุดหงิดง่าย เฉื่อยชา หรือเมินเฉย เป็นต้น การเสื่อมของสมองนี้ จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านอาชีพการงาน และชีวิตส่วนตัว

         
โรคสมองเสื่อมไม่ใช่ภาวะปกติของคนที่มีอายุ ในบางครั้งเวลาที่เรามีอายุมากขึ้นเราอาจมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ได้บ้าง แต่อาการหลงลืมในโรคสมองเสื่อมนั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ อาการหลงลืมจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมากขึ้นเรื่อย ๆ และจะจำเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นไม่ได้เลย ไม่เพียงแต่จำรายละเอียดของเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นไม่ได้เท่านั้น คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะจำเรื่องราวที่พึ่งเกิดขึ้นไม่ได้เลย รวมทั้งสิ่งที่ตัวเองกระทำเองลงไปด้วย และถ้าเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ คนผู้นั้นอาจจำไม่ได้ว่าใส่เสื้ออย่างไร อาบน้ำอย่างไร หรือแม้กระทั่งไม่สามารถพูดได้เป็นประโยค
 

      อะไรคือสาเหตุของโรคสมองเสื่อม
          อาการต่าง ๆ ของโรคสมองเสื่อม เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) นั้นเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ส่วนโรคสมองเสื่อมจากเส้นเลือดในสมอง (Vascular dementia) นั้น เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยรองลงมา นอกจากนี้สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมที่พบได้ คือ โรค Parkinson, Frontal Lobe Dementia, จาก alcohol และจาก AIDS เป็นต้น

 

      ใครจะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมได้บ้าง
          โรคสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัย แต่จะพบได้น้อยมากในคนที่อายุน้อยกว่า 40 ปี ส่วนใหญ่แล้วจะพบในคนสูงอายุ แต่พึงตระหนักไว้ว่า โรคสมองเสื่อมนั้นไม่ใช่สภาวะปกติของผู้ที่มีอายุมาก เพียงแต่เมื่ออายุมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น โดยคร่าว ๆ นั้นประมาณ 1 ใน 1000 ของคนที่อายุน้อยกว่า 65 ปี จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้ ประมาณ 1 ใน 70 ของคนที่อายุระหว่าง 65 - 70 ปี 1 ใน 25 ของคนที่มีอายุระหว่าง 70 - 80 ปี และ 1 ใน 5 ของคนที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมนีได้ โดยประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนั้นมีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer's Disease )

 

      ความสำคัญในการตรวจร่างกาย
          เนื่องจากสาเหตุของโรคสมองเสื่อมนั้น มีมากมายหลายสาเหตุ ดังนั้นการพบแพทย์เพื่อรับการปรึกษา และตรวจร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะทำให้ทราบว่า เราป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่แล้ว ยังทำให้พอทราบได้ว่า สาเหตุนั้นมาจากอะไร ซึ่งจะมีผลต่อแนวทางการรักษาต่อไป

 


 

8. มะเร็ง

          คือกลุ่มโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่ DNA หรือ สารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการเจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดในอวัยวะใด ก็จะเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

 

 

   โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 10 อันดับแรก (ผู้หญิง)

  1. มะเร็งปากมดลูก  5,462  ราย
  2. มะเร็งเต้านม  4,223  ราย
  3. มะเร็งตับ  3,679  ราย
  4. มะเร็งปอด  2,608  ราย
  5. มะเร็งลำไส้ใหญ่  1,789  ราย
  6. มะเร็งรังไข่  1,252  ราย
  7. มะเร็งช่องปาก  953  ราย
  8. มะเร็งต่อมไธรอนด์  885  ราย
  9. มะเร็งกระเพาะอาหาร  723  ราย
  10. มะเร็งคอมดลูก  703  ราย

      สาเหตุ  สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่สำคัญ คือ

  1. เกิดจากสิ่งแวดล้อม หรือภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่า มะเร็งส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุนี้ ได้แก่ สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร และเครื่องดื่ม เช่น สารพิษจากเชื้อราที่มีชื่อว่าอัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง พวกไฮโดคาร์บอน (Hydrocarbon) สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหาร ชื่อไนโตรซามิน (Nitosamine) สีผสมอาหารที่มาจากสีย้อมผ้า รังสีเอ็กซเรย์ อุลตราไวโอเลตจากแสงแดด เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิลโลมา การติดเฃื้อพยาธิใบไม้ในตับจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา เป็นต้น
  2. เกิดจากความผิดปกติในร่างกาย ซึ่งมีเป็นส่วนน้อย เช่น เด็กที่มีความพิการมาแต่กำเนิด มีโอกาสเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น การมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และ ภาวะทุพโภชนาการ เช่น การขาดไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินเอ ไวตามินซี เป็นต้น

    จะเห็นว่ามะเร็งส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น มะเร็งน่าจะเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้เช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออื่น ๆ (Hill R P,Tannock If,1978) ถ้าประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง และสารช่วย หรือให้เกิดมะเร็งที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเหล่านั้น เช่น งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงจากบริเวณที่มีควันบุหรี่ เป็นต้น

             
    สำหรับสาเหตุภายในร่างกายนั้น การป้องกันคงไม่ได้ผล แต่ทำให้ทราบว่าตนเองจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง หรือมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ดังนั้น ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับความรู้เรื่องมะเร็งต่อไป กรณีที่เป็นมะเร็ง ได้ตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะมีการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี

    อาการ

  1. ไม่มีอาการใดเลยในช่วงแรกขณะที่ร่างกายมีเซลล์มะเร็งเป็นจำนวนน้อย
  2. มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญาณอันตราย 8 ประการ ที่เป็นสัญญาณเตือน ว่าควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาค้นหาโรคมะเร็ง หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดสัญญาณเหล่านี้ เพื่อการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์ที่ถูกต้อง ก่อนที่จะกลายเป็นโรคมะเร็ง หรือมะเร็งระยะลุกลาม
  3. มีอาการป่วยของโรคทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม ไม่สดชื่น และไม่แจ่มใส
  4. มีอาการที่บ่งบอกว่ามะเร็งอยู่ในระยะลุกลาม หรือเป็นมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งชนิดใด และมีการกระจายของโรคที่ส่วนใดของร่างกายที่สำคัญที่สุดของอาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ อาการเจ็บ ปวด ที่แสนทุกข์ทรมาน

    คำแนะนำ

  1. รับประทานผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บรอดโคลี่ ฯลฯ
  2. รับประทานอาหารที่มีกากมาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่น ๆ
  3. รับประทานอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน และไวตามินเอสูง ๆ เช่น ผัก ผลไม้สีเขียว-เหลือง
  4. รับประทานอาหารที่มีไวตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่าง ๆ
  5. ควบคุมน้ำหนักตัวเอง
  6. ไม่รับประทานอาหารที่มีราขึ้น
  7. ลดอาหารประเภทไขมัน
  8. ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้ง-ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรท-ไนไตรท์
  9. ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ก้อยปลา ปลาจ่อม ฯลฯ
  10. หยุดหรือลดการสูบบุหรี่
  11. ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  12. อย่าตากแดดจัดมากเกินไป จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง

 



หน้า 1/1
1
[Go to top]